วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมไทย

ประติมากรรมเป็นผลงานทางศิลปะที่มีรูปทรง 3 มิติ คือ มีความสูงความกว้างและความนูนหรือลึก เกิดขึ้นจากการปั้นหล่อ แกะ สลัก ฉลุ หรือดุนตั้งแต่โบราณมา บรรพบุรุษไทยได้สร้างผลงานทางประติมากรรมขึ้น เพื่อแสดงออกถึงจินตนาการ ความรู้สึกความเชื่อ และความต้องการที่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงออกของความสามารถทางด้านศิลปะ อันเป็นสุนทรียภาพของตนด้วย

การสร้างประติมากรรมนี้ ผู้สร้างจะต้องคำนึงองค์ประกอบทางศิลปะหลายประการเพื่อช่วยให้ผลงานมีความงดงาม และสามารถสร้างความรู้ สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ชม เช่น การใช้เส้นที่คดโค้งหรืออ่อนช้อยความกลมกลึง ความมันวาว ความนูนและความเรียบ เกลี้ยงของ พื้นผิว สามารถกระตุ้นความรู้สึกละเอียดอ่อนของผู้ชม สื่อให้รู้ถึงความอิ่มเอิบและความสมบูรณ์พูนสุข แสงและเงาที่สะท้อนได้ฉากและมุมที่พอเหมาะช่วยสร้างบรรยากาศให้ได้ความรู้สึกที่ต้องการ

การสร้างและจัดงานประติมากรรมให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม เช่น เหมาะกับขนาดของสถานที่ ฐานที่ตั้งและวัสดุอื่น ๆ สามารถช่วยให้ ประติมากรรมนั้นดูเด่น เป็นสง่า น่าเคารพ และน่านับถือ นอกจากนั้น การเลือกใช้วัสดุและเทคนิคการประดับตกแต่งที่เหมาะสมก็จะช่วยให้เกิดความ วิจิตรงดงาม เพิ่มคุณค่างานประติมากรรมไทยขึ้นด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการสร้างงานประติมากรรมแต่ละชิ้นต้องใช้ความสามารถของช่างทางด้านศิลปะอย่างมาก

ประติมากรรมรูปเคารพที่คนไทยสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชา มักทำเป็นรูปคน เช่น เทวรูป พระพุทธรูป หรือรูปสัญลักษณ์ เช่น ใบเสมา ธรรมจักร และกวางหมอบ และรอยพระพุทธบาท ประติมากรรมรูปคนถือเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุด พระสะท้อนความเชื่อ และความผูกพันระหว่างสังคมไทยกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง มีมานานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน

ประติมากรรมตกแต่ง เป็นประติมากรรมที่ใช้ตกแต่งศิลปสถานและศิลปวัตถุต่างๆ ให้เกิดคุณค่าทางความงามและวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น ที่เราพบมากได้แก่ การแกะสลักลวดลายต่างๆ ลงบนสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ตู้ โต๊ะ ตั่ง เตียง ถ้วย ชาม ฯลฯ และการประดับสถานที่ต่าง ๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ปราสาทราชวัง ด้วยลายปูนปั้นและรูปปั้นต่างๆ

ประติมากรรมของไทย นอกจากจะสะท้อนแบบแผนทางวัฒนธรรมแล้ว ยังสะท้อนความเชื่อต่างๆ อีกด้วย เช่น รูปหล่อโลหะสัตว์หิมพานต่าง ๆ ในวัด นับ ว่าสะท้อนความเชื่อ ทางพุทธศาสนาในเรื่องไตรภูมิ

นอกจากนั้นประติมากรรมบางอย่าง มีวัตถุประสงค์ที่จะเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้ทราบด้วย เช่น ประติมากรรมแกะสลักแผ่นหินอ่อนเรื่องรามเกียรติ์ประดับพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประติมากรรมปูนปั้นเรื่องทศชาติประดับหน้าพระอุโบสถวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น

ประติมากรรมอีกประเภทหนึ่งเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น การสลักดุนภาชนะเครื่อง ใช้ขนาดเล็กด้วยลวดลายต่างๆ การแกะสลักเครื่องดนตรี

การนำกระดาษมาสร้างเป็นหัวโขน การนำดินมาปั้นเป็นเครื่องเล่นต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตา ตัวหมากรุก หรือนำวัสดุต่าง ๆ มาประดิษฐ์เป็นเครื่องตก แต่งชั่วคราว เช่น การสลัก ผักผลไม้การสลักหยวกกล้วย และการสลักเทียนพรรษา เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ประติมากรรมเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าและประโยชน์หลายด้านบรรพบุรุษของไทยได้ริเริ่มและวางแผนงานประติมากรรมของไทยมานานแล้ว เนื่องจากประติมากรรมของไทยได้ผ่านการหล่อหลอมและผสมผสานทางวัฒนธรรมมาอย่างชาญฉลาดไทยจึงยังคงสามารถรักษารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยได้อย่างเด่นชัด

ในระยะหลังตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา ความเจริญของประเทศทางตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ

งานศิลปะมิได้สร้างขึ้นเพียงเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อทางศาสนาเท่านั้น แต่สามารถสร้างขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์ด้วยดังนั้น การสร้างอนุสาวรีย์ การทำรูปปั้นและเหรียญตราต่างๆ จึงได้เกิดขึ้น บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวงการศิลปกรรมไทยสมัยใหม่ ทุกสาขาคือ ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ศิลปินผู้ปั้นรูปอนุสาวรีย์สำคัญๆ ของชาติจำนวนมาก เช่น พระบรมรูปรัชกาลที่ 1 พระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

งานศิลปกรรมซึ่งแต่เดิมอยู่ในความดูแลของราชสำนัก ก็ได้เปลี่ยนไปอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 จัดให้มีการเรียนการสอนทางด้านศิลปกรรมสาขาต่างๆ ปัจจุบันงานประติมากรรมของไทยได้เข้าสู่ยุคของศิลปะร่วมสมัย ซึ่งศิลปินมีอิสระภาพทั้งทางด้านความคิด เนื้อหาสาระ เทคนิค และรูปแบบการแสดงออก สุดแท้แต่จินตนาการและความสามารถของศิลปินผู้สร้าง

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย

ประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย

ประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย เป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมไทย ได้แก่ ประติมากรรมในสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องมหรสพ เครื่องเล่นและเครื่องตกแต่งชั่วคราว ประติมากรรมประเภทนี้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ประติมากรรมตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ ประติมากรรมเครื่องมหรสพ ประติมากรรมเครื่องเล่นและประติมากรรมเครื่องตกแต่งชั่วคราว

ประติมากรรมตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ เป็นประติมากรรมที่ตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ให้เกิดความสวยงามน่าใช้น่า จับต้อง

ประติมากรรมเครื่องมหรสพ เป็นประติมากรรมเพื่อการบันเทิง คนไทยมีความเชี่ยวชาญในการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้อ งถิ่นมาสร้างงานประติมากรรมประเภทนี้

ประติมากรรมเครื่องเล่น เป็นประติมากรรมพื้นบ้าน เป็นงานปั้นคนหรือสัตว์ขนาดเล็กทำเป็นตุ๊กตาต่างๆ ประติมากรรม

เครื่องตกแต่งชั่วคราว เป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีกรรมหรือกิจกรรมบางอย่าง ใช้ระยะเวลาอันสั้นเพื่อให้พิธีกรรมหรือกิจกรรมนั้นสมบูรณ์ วัสดุที่นำมาสร้างประติมากรรมประเภทนี้มักเป็นวัสดุไม่คงทนม ีอายุการใช้งานสั้น



สุนทรียศาสตร์ หรือ Aesthetics

สุนทรียศาสตร์ หรือ Aesthetics

Aesthetic สุนทรียภาพ กล่าวทางศิลปะหมายถึง ความรู้สึกโดยธรรมดาของคนเราทุกคนซึ่งรู้จักค่าของวัตถุที่งาม ความรู้สึกที่งามเป็นสุนทรียภาพนี้ ย่อมเป็นไปตามอุปนิสัย การอบรมและการสึกษาของแต่ละบุคคล ซึ่งเรียกรวมกันว่ารส (taste) เพราะฉะนั้น ความรู้สึกนี้จึงอาจมีแตกต่างกันได้มาก แม้ระหว่างบุคคลต่อบุคคล ซึ่งความรู้สึกเบื้องต้นของความงามที่เป็นสุนทรียภาพ ถ้าเจริญคลี่คลายขึ้นแล้วก็จะเปิดช่องให้ประสาทอินทรีย์รู้สึกชื่นชมยินดี คือรู้คุณค่าของวิจิตรศิลป์ (fine arts) ขึ้นได้ เพราะฉะนั้นความงามที่เป็นสุนทรียภาพจึงได้แก่อินทรีย์คสามรู้สึกของบุคคล ซึ่งอาจเจริญงอกงามได้ด้วยอาศัยการฝึกฝนในการอ่าน การฟัง และการพินิจดูสิ่งที่งดงามเจริญใจไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งธรรมชาติหรือเป็นศิลปะ ดังเช่น ผู้ใดได้มองหรือเห็นสิ่งที่น่าเกลียด ก็มีความรู้สึกไม่พอใจขึ้นเองโดยไม่รู้สึกตัว ทั้งนี้เป็นเพราะประสาทอินทรีย์ของผู้นั้นเกิดระคายเคืองขึ้นเองจากความไม่ประสานกันของสิ่งนั้นๆ ตรงกันข้ามถ้าเราได้ยินเสียงที่ไพเราะ หรือมองดูสิ่งที่งาม ความรู้สึกอิ่มเอิบใจก็จะเข้าครอบงำเป็นเจ้าเรือนในดวงใจของเราทันที
อันที่จริงบุคคลที่มีความรู้สึกเจริญคลี่คลายดีแล้วในเรื่องรู้รสรู้ค่าของศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นเพราะมีอุปนิสัยหรือการศึกษามาดีแล้ว เมื่อได้อ่านได้ฟังหรือได้มองดูสิ่งซึ่งมีการประจักษ์ทางศิลปะอย่างสูง คือ ศิลปกรรมที่เลิศแล้วก็สามารถจะเข้าใจได้อย่างซาบซึ้งถึงความรู้สึกสะเทือนใจทางสุนทรียภาพ (aesthetic emotion) เหตุฉะนั้นสุนทรียภาพในทางศิลปะจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะมีสัมพันธ์อยู่กับประสาทอินทรีย์ความรู้สึกของศิลปินและกับทั้งศิลปกรรมด้วย
ยกตัวอย่าง เมื่อเราสังเกตเห็นลักษณะ การวางท่าทาง (posture) ของรูปรูปหนึ่ง “หยาบคาย” ไม่ละมุนละม่อม แม้รูปนั้นจะมีวิธีทำและมีการแสดงออก (expression) ทางศิลปะอย่างสมบูรณ์ แต่เราจะรู้สึกรู้ค่าในศิลปกรรมนั้นเต็มที่ไม่ได้ เพราะเส้นนอกของรูปภาพนั้นไม่เป็นสุนทรียภาพ กล่าวคือ ไม่มีความประสานกัน
อีกตัวอย่างหนึ่ง รูปภาพหรือหนังสือที่ประพันธ์ขึ้น หรือการประจักษ์อย่างอื่นๆ ทางศิลปะที่ไม่สมควร ทำให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ ก็คือวาดหรือพรรณนาถึงสิ่งที่หยาบคายไม่ละมุนละม่อม แม้วาดหรือพรรณนาได้ดีเท่ากับถอดเอาออกมาจากของจริง แต่โดยเหตุที่มีลักษณะในตัวของมันองต่ำเราก็อาจกล่าวได้ว่า ไม่เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้มีปัญญาเกิดสนใจ
ตรงกันข้าม พระพุทธรูปที่งาม หรือเทวรูปกรีก หรือศิลปกรรมอื่นๆที่เลิศ เมื่อดู อ่าน หรือฟังแล้วย่อมน้อมนำใจเราให้สู่ความคิดสูง ให้เรามีความรู้สึกสะเทือนใจในความงามขึ้นทันที เปรียบปรัดุจเป็นอำนาจของแม่เหล็กครอบงำอินทรีย์ความรู้สึกของเราทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพราะ วัตถุที่เราดูหรืออ่าน หรือเสียงที่เราได้ยินอยู่นั้น เข้าไปสัมพันธ์อยู่กับความปรารถนาทางจิตใจของเรา ทำให้เราใฝ่แสวงหาแต่สิ่งที่มีคุณงามความดีอันสูง แท้จริงความรู้สึกสะเทือนใจที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา อันเนื่องมาแต่สุนทรียภาพที่มีอยู่ในสิ่งนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะความงามหรือความประณีตบรรจง
ที่มีอยู่เท่านั้นโดยลำพัง เพราะศิลปกรรมที่เลิศ ซึ่งนอกจากมีองค์ประกอบและวิธีทำที่สมบูรณ์แล้ว ยังต้องมีการแสดงความคิดสูง อันได้แก่ความคิดที่ยกจิตใจของผู้พินิจ ผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้ดูงานศิลปกรรม

ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์และศิลปะ
เนื้อหาของสุนทรียศาสตร์นั้นว่าด้วยความคิดรวบยอดเรื่องความงาม การที่จะนิยามว่าความงามคืออะไรนั้นก็ยังไม่เป็นที่ยุติและเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญของสุนทรียศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่ปัญหาที่ว่าความงามคืออะไรนั้น นักศิลป์ทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไรนัก แต่เขาจะพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อสร้างความงามขึ้นด้วยศิลปะของเขา ซึ่งความสนใจดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสัญชาติญาณของศิลป์ แต่จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์ก็คือความพยายามยกระดับของการสร้างสรรค์และความสนใจในศิลปะซึ่งเป็นไปตามสัญชาตญาณนั้นให้เป็นพฤติกรรมที่เต็มไปด้วยปัญญา ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการขั้นมูลฐานของพฤติกรรมเกี่ยวกับศิลปะ ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงเริ่มเรื่องด้วยการพิจารณาจากความสนใจในศิลปะและการสร้างสรรค์ศิลปะ ซึ่งคำตอบของสุนทรียศาสตร์ก็ได้จากการพยายามค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง ความหมายของความงามก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์
จากประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์ก็คือการค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง แต่ก็มิได้หมายความว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์จะจำกัดอยู่แค่การค้นหาความงามจากความหมายของศิลปะที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความงามของธรรมชาติด้วย
สำหรับคำว่า “สุนทรียศาสตร์” ความหมายที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้มีขอบเขตอิสระมากขึ้น ความหมายของคำนี้ในทางวิชาการก็คือ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปะแขนงต่างๆ รวมถึงหลักการของศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ประสบการณ์ทางศิลปะ นอกจากนี้ขอบเขตของความหมายยังได้ครอบคลุมไปถึงศิลปะกับชีวิตและสังคมร่วมทั้งความงามและปรากฏการณ์ที่งดงามของธรรมชาติอีกด้วย

ความงามในธรรมชาติและความงามในศิลปะ
ความงามในธรรมชาติ เป็นความงามที่ปราศจากการปรุงแต่ง เป็นความงามที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เข่นชมทิวทัศน์ทุ่งทานตะวัน หรือชมพระอาทิตย์อัศดงที่ภูผาเป็นต้น
ความงามในศิลปะ เกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจ ที่อยากแสดงออกทางสุนทรียภาพจากประสบการณ์ต่างๆ และขึ้นอยู่กับการสัมผัสของแต่ละบุคคล

ทฤษฎีความงาม

ทฤษฎีความงาม เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากในทางสุนทรียศาสตร์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ตำแหน่งของความงาม หรือว่าความงามอยู่ที่ไหน ความงามนั้นไม่ว่าจะเป็นจิตวิสัยหรือวัตถุวิสัยก็ยังคงเป็นเรื่องที่ให้ความเห็นไม่ตรงกันอยู่นั่นเอง และทัศนะที่แตกต่างกันของนักสุนทรียศาสตร์เหล่านั้น ก็ก่อให้เกิดทฤษฎีทางความงามขึ้นหลาย ทฤษฎี ดังจะยกมาพอสังเขปดังนี้

1.ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ
ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีนี้ เชื่อว่าวัตถุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความงามในตัวของวัตถุเอง เช่น สวยเพราะสีสัน ทรวดทรง พื้นผิว ไม่ว่าเราจะสนใจวัตถุนั้นหรือไม่ การที่เราเริ่มให้ความสนใจในวัตถุนั้น ก็เป็นเพราะความงามของวัตถุนั้นนั่นเอง
บุคคลที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ท่านหนึ่งก็คือ อริสโตเติล (Aristotle. 384-322 B.C) ท่านได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความงามที่เป็นวัตถุวิสัยนี้ว่า สุนทรีธาตุนั้นมีจริง โดยไม่ขึ้นกับความคิดของมนุษย์ สุนทรีธาตุ มีมาตรการตายตัวแน่นอนในตัวเอง ดังนั้น ความงามของวัตถุจึงเป็นความสมบูรณ์อันเกิดจากรูปร่าง รูปทรง สีสัน สัดส่วนที่ประกอบกันเข้าอย่างกลมกลืนมีความสมดุล จึงถือว่าความงามที่เป็นวัตถุวิสัยหรือสุนทรียธาตุนั้นเป็นความงามที่สมบูรณ์แบบ

2.ความงามคือความรู้สึกเพลิดเพลิน
แนวคิดตามทฤษฎีนี้กล่าวคือ การที่เรามองเห็นคุณค่าของความงามในสิ่งใดใดก็แล้ว จิตเป็นตัวกำหนดความงาม ซึ่งเพลโต นักปรัชญาชาวกรีก (Plato 472 -347 B.C) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องของความงามว่า ความงามที่แท้จริงนั้นอยู่ในโลกแห่งจินตนาการ (World of Idea) เขาเชื่อว่าความงามอยู่ที่จิตเป็นตัวกำหนด ส่วนความคิดนั้นอยู่ในห้วงแห่งจินตนาการที่อยู่นอกเหนือไปจากโลกนี้ กล่าวคือจิตต้องสร้างต้นแบบแห่งความงามขึ้น สิ่งใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับจินตนาการในต้นแบบมากเพียงใด ย่อมถือว่าเป็นความงามเพียงนั้น ความชอบความเพลิดเพลินในเป็นสิ่งแสดงถึงคุณค่าตามมา

3.ความงามเป็นสภาวสัมพัทธ์
นักคิดบางคนเชื่อว่าความงามไม่ใช่เป็นจิตวิสัยอย่างสิ้นเชิง และก็ไม่ใช่เป็นวัตถุวิสัยอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน แต่เป็นภาวสัมพัทธ์ระหว่างวัตถุกับบุคคล ทัศนะนี้ก็นับว่ามีส่วนถูกต้องอยู่ที่การยอมรับว่าทั้งบุคคลและ วัตถุมีความสำคัญด้วยกันทั้งคู่ในการตีคุณค่าทางสุนทรียะ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสองสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นรากฐานรองรับคำว่าคุณค่าทางสุนทรียะ เพียงแต่ว่าตัวความสัมพันธ์เองนั้นไม่ใช่เป็นตัวความงามหรือตัวคุณค่าทางสุนทรียะ เพราะฉะนั้นการที่จะอธิบายว่าความงามคือสภาวสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงเป็นคำอธิบายที่ไม่ถูกนัก

ประติมากรรม

ประติมากรรม คือ ศิลปะที่มีรูปลักษณะเป็นสามมิติเกิดจากการปั้น การแกะสลักและการหล่อ ประติมากรรมแบ่งออกเป็น 2 สาย ประติมากรรมที่เกิดจากการปั้นและการหล่อ และประติมากรรมที่เกิดจากการแกะสลัก

ประติมากรรมปั้นและหล่อ เป็นการปั้นจากวัสดุที่ทำเป็นทรงได้ เช่น ปั้นด้วยดินเหนียว เมื่อปั้นได้รูปลักษณะพอใจแล้วนำไปหล่อด้วยโลหะ หรือปูนพลาสเตอร์ให้มีจำนวนตามต้องการ

ประติมากรรมแกะสลัก เป็นการแกะสลักหรือเจียระไนจากวัตถุต่างๆ เช่น หิน ไม้ งาช้าง หยก เป็นต้นการออกแบบและการก่อสร้าง คือ การออกแบบโครงสร้าง และการก่อสร้างอาคารชนิดต่างๆ เช่น อาคารที่พักอาศัย ได้แก่ บ้าน หอพัก

คุณค่าของทัศนศิลป์

ศิลปะเป็นผลงานของมนุษย์ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมามีหลายลักษณะและวิธีการสร้างแตกต่างหันไป ได้แก่ ภาพเขียน รูปปั้น งานก่อสร้าง งานประพันธ์ โคลงฉันท์ กาพย์ กลอน ดนตรี นาฏศิลป์ และการแสดง รวมถึง เรื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับตกแต่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาจิตใจให้มีความสุขได้

ทัศนศิลป์ จึงเป็นศิลปะแขนงที่ได้คุณค่าแก่มนุษย์อีกหลายด้าน จะเห็นได้จากการอำนวยประโยชน์ดังต่อไปนี้

ด้านการอยู่อาศัย มนุษย์ได้พัฒนาที่อยู่อาศัยจากอดีตกาลจากถ้ำ เพิงผา มาเป็นบ้านแบบง่าย ๆ แล้วรู้จักต่อเติมตกแต่งให้สวยงามและมีประโยชน์มากขึ้น

ด้านเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน มนุษย์ได้พัฒนาโดยนำศิลปะเข้าไปเกี่ยวข้อง ในรูปของงานหัตถกรรม หรืองานอุตสาหกรรมศิลป์

นอกจากจะนำศิลปะมาประกอบให้เกิดประโยชน์โดยตรงแล้ว ยังมีส่วนช่วยโน้มน้าวจิตใจให้มีความรักในความงามของธรรมชาติ และความงามของศิลปะ ย่อมจะทำให้จิตใจอ่อนโยน ดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แบบทั้งทางกายและจิตใจ

ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาทัศนศิลป์ ก็จะเห็นได้จากสามารถนำเอาความรู้ และทักษะไปประยุกต์กับการเรียนการปฏิบัติงานในสาขาอื่น ๆ อีก เช่น วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม สถาปัตยกรรม สังคมศึกษา สื่อสารมวลชน การออกแบบ การตกแต่งบ้านเรือน ตลอดจนการแต่งกายได้อีกด้วย

ดันนั้นการศึกษาทัศนศิลป์ เพื่อได้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตให้รู้คุณค่าทางด้านสุนทรียภาพ และการรู้จักนำศิลปะมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างสมบูรณ์ อันจะเป็นผลทำให้นำคุณค่าเหล่านี้ไปพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติให้เจริญก้าวหน้าสืบต่อไป

ประติมากรรม (Sculpture)

ประติมากรรม (Sculpture)

เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรมจะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ


1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้นได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
2. การแกะสลัก (Carving)เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)
4. การประกอบขึ้นรูป (Construction)เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่างๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูงและแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร

ประเภทของงานประติมากรรม


1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ